คำนิยม
(พิมพ์ครั้งที่ 3)
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์-ที่ดิน เป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน ภาคหนึ่ง ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ตั้งแต่ในการสอบสมัยที่ 1 ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช 2491 สอบเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2492 โดยมีคำถามเรื่องทางจำเป็นและการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และมาตรา 1382 เป็นข้อสอบครั้งแรกในวิชานี้ สำหรับเนื้อหาสาระของกฎหมายในส่วนนี้ จะศึกษาในกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติว่าด้วยทรัพย์ ทรัพย์สิน และตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยการวิเคราะห์หลักกฎหมาย ทฤษฎีและคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้สามารถปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายได้ในเชิงปฏิบัติ
อาจารย์สมจิตร์ ทองศรี เป็นอาจารย์ผู้บรรยายภาคปกติ วิชากฎหมายแพ่งและพานิชย์ว่าด้วยทรัพย์-ที่ดิน ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและเป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนมาเป็นระยะเวลาหลายปี ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะและประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการเป็นข้าราชการตุลาการเป็นระยะเวลานานจนดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เรียบเรียงคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์เล่มนี้ มอบให้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภาเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์ เพื่อเป็นตำราประกอบการเรียนแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
หนังสือคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์เล่มนี้ได้จัดพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งจำหน่ายหมดไปอย่างรวดเร็วแล้ว ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 3 นี้ ท่านอาจารย์สมจิตร์ ทองศรี ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมคำพิพากษาศาลฎีกาจนถึงปีปัจจุบัน อีกทั้งเรียบเรียงเนื้อหาในบางส่วนขึ้นใหม่ให้สอบคล้องกับกฎหมายที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้ความวิริยะและอุตสาหะเป็นอย่างยิ่งจนสำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมา หนังสือเล่มนี้จึงเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าเล่มหนึ่งในวงการกฎหมายไทย
สำนักอบรมนักศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาขอขอบคุณทุกท่านอาจารย์สมจิตร์ ทองศรี ที่ได้กรุณาอุทิศเวลาเรียบเรียงตำราเล่มนี้และมอบให้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เป็นผู้จัดพิมพ์ตลอดมา หวังว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักกฎหมายและผู้ที่สนใจ เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้ารวมตลอดถึงในทางปฏิบัติ และเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าแก่วงการกฎหมายสืบไป
นายประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
สารบัญ
บทนำ
บทที่ 1 ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ความหมายของทรัพย์
ความหมายของทรัพย์สิน
บทที่ 2 ประเภทของทรัพย์สิน
อสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์
ทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้
ทรัพย์นอกพาณิชย์
บทที่ 3 ส่วนควบ อุปกรณ์ และดอกผล
ส่วนควบ
ทรัพย์ที่กฎหมายยกเว้นไม่ให้เป็นส่วนควบ
ผู้เป็นเจ้าของส่วนควบ
อุปกรณ์
ผู้เป็นเจ้าของอุปกรณ์
ความแตกต่างระหว่างส่วนควบกับอุปกรณ์
ดอกผล
ดอกผลธรรมดา
ดอกผลนิตินัย
ผู้มีสิทธิในดอกผล
บทที่ 4 การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิ
ความหมายของทรัพยสิทธิ
ความหมายของบุคคลสิทธิ
ข้อแตกต่างระหว่างบุคคลสิทธิกับทรัพยสิทธิ
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
การได้มาโดยนิติกรรม
การได้มาโดยผลแห่งกฎหมาย
การได้มาโดยกฎหมายบัญญัติไว้
การได้มาโดยคำพิพากษาของศาล
การได้มาโดยการรับมรดก
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรม(มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง)
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกนิติกรรม (มาตรา 1299 วรรคสอง )
ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน
ได้สิทธินั้นโดยสุจริต
ได้จดทะเบียนสิทธินั้นโดยสุจริตแล้ว
การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน
การเปลี่ยนแปลง ระงับ และการคืนมาแห่งทรัพยสิทธิ
การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกัน
บทที่ 5 ทรัพย์ของแผ่นดิน
ทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดา
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
สาธารณสมบัติของแผ่นดินโอนให้แก่กันมิได้
ผู้ใดยกความต่อสู้แผ่นดินไม่ได้
ห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน
บทที่ 6 การได้มาซึงกรรมสิทธิ์
การได้มาโดยอาศัยหลักส่วนควบ
ที่อกริมตลิ่ง
เกาะและทะเลตื้นเขิน
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
สร้างโรงเรือนรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่น
สร้างโรงเรือนในที่ดินที่มีเจ้าของโดยมีเงื่อนไข
การปลูกสร้างสิ่งอื่น ปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตน
(มาตรา 1318 -1322)
การได้มาซึ่งทรัพย์สินหาย(มาตรา 1323 -1328)
พฤติการณ์พิเศษซึ่งสิทธิของผู้ได้มาไม่เสียไป
(มาตรา 1329-1332)
การได้มาโดยกรรมสิทธิ์โดยอายุความ
การได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายที่ดิน
บทที่ 7 แดนกรรมสิทธิ์และการใชกรรมสิทธิ์
แดนกรรมสิทธิ์ (มาตรา 1335)
อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์(มาตรา 1336)
สิทธิพิเศษของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(มาตรา 1337)
เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ถูกกำจัดสิทธิ(มาตรา 1338-1355)
ทางจำเป็นมาตรา 1349-1350)
บทที่ 8 กรรมสิทธิ์รวม
สิทธิของเจ้าของรวมที่มีต่อทรัพย์สิน
วิธีแบ่งทรัพย์สินรวม
หน้าที่ของเจ้าของรวมต่อเจ้าของรวมด้วยกัน
บทที่ 9 ครอบครอง
สิทธิครอบครอง
ครอบครองปรปักษ์
บทที่ 10 ทรัพยสิทธิชนิดอื่น
ภาระจำยอม
สิทธิอาศัย
สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเก็บกิน
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรณานุกรม