คำอธิบายกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย เรื่องกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ วิชา มหาคุณ
ผู้แต่ง: วิชา มหาคุณ
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 3 : สิงหาคม 2559
จำนวนหน้า : 360 หน้า
ขนาด : 18.5x26 ซม.
รูปแบบ : ปกอ่อน เข้าเล่ม ไสกาว
คำนำ
ในการพิมพ์ครั้งที่ 3
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง ได้ถึงคราวที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขครั้งใหญ่ ในปี 2558 และ 2559 ส่วนที่มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อการฟื้นฟูกิจการ คือ ระบบการอุทธรณ์ ซึ่งได้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่มีการอุทธรณ์จากศาลล้มละลายกลาง แทนที่ศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่มาแต่เดิม และกำหนดให้มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มเติมจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้ แม้วิสาหกิจขนาดใหญ่เองก็ได้มีการออกกฎกระทรวง กำหนดนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพิ่มขึ้นจากบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ “คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย เรื่อง กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้” ของผู้เขียน ซึ่งมอบให้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เป็นผู้จัดพิมพ์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้เขียนจึงรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขคำอธิบายดังกล่าวฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 โดยเร่งด่วน ทั้งนี้นอกจากได้มีการปรับปรุงคำอธิบายในส่วนที่เกี่ยวกับตัวบทกฎหมายแล้ว ยังได้เพิ่มคำพิพากษาและหลักกฎหมาย เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้นในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาต่อไป
ขอขอบคุณสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาที่รับภาระในการจัดพิมพ์ รวมทั้ง อาจารย์เอื้อน ขุนแก้ว ผู้ทำหน้าที่เรียบเรียงคำบรรยายของผู้เขียนรวมทั้งเป็นผู้ช่วยในการบรรยายของผู้เขียนบางคราวที่ผู้เขียนไม่สามารถบรรยายได้ ที่ช่วยซักถามหรือให้ข้อสังเกตต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่ง จนทำให้คำอธิบายสำเร็จบริบูรณ์ดังที่ตั้งใจไว้
สารบัญ
บทที่ ๑ วิวัฒนาการโดยสังเขปของระบบล้มละลาย
• กำเนิดแห่งระบบล้มละลาย
• ระบบล้มละลายในยุคกลาง
• กฎหมายล้มละลายของอังกฤษในยุคแรก
• กฎหมายล้มละลายของอังกฤษในปัจจุบัน
บทที่ ๒ บทบาทของศาลยุติธรรมในการแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ
• ข้อพิจารณาเบื้องต้น
• กระบวนการเยียวยาในระบบศาลยุติธรรม
• การจำแนกกระบวนการเยียวยา
• การประนอมหนี้เชิงป้องกันตามระบบกฎหมายฝรั่งเศส
• บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บทที่ ๓ หลักเกณฑ์การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรียงลำดับมาตราและคำพิพากษาฎีกา
• แผนผังกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
บทที่ ๔ หลักเบื้องต้นของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
• ภาพรวมของคดีฟื้นฟูกิจการ
• วัตถุประสงค์ของการฟื้นฟูกิจการ
• บทบาทของผู้เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูกิจการและคดีล้มละลาย
• การปรับใช้กฎหมายในคดีฟื้นฟูกิจการ
• ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการ
บทที่ ๕ บทนิยามศัพท์
บทที่ ๖ กระบวนการร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
• ผู้ร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ
• มูลเหตุแห่งการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
• คำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
• ค่าขึ้นศาลและเงินวางประกัน
• การถอนคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
• การไต่สวนคำร้องขอ
• การคัดด้านคำร้องขอ
• การขยายอายุความ
บทที่ ๗ สภาวะพักการชำระหนี้
• ผลของคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
• วัตถุประสงค์ของสภาวะพักการชำระหนี้
• จุดเริ่มต้นของสภาวะพักการชำระหนี้
• บุคคลที่กฎหมายคุ้มครอง
• ผลของสภาวะพักการชำระหนี้
• อำนาจศาลในการแก้ไขข้อจำกัดสิทธิ
• ขอบเขตความคุ้มครอง
• รายการและเงื่อนไขในการคุ้มครอง
• ผลของการฝ่าฝืนสภาวะพักการชำระหนี้
• การขอบรรเทาหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาวะพักการชำระหนี้
บทที่ ๘ ผู้ทำแผน
• แนวทางการตั้งผู้ทำแผน
• คุณสมบัติของผู้ทำแผน
• อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผน
• ผลของคำสั่งตั้งผู้ทำแผน
• กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและการพิจารณาตั้งผู้ทำแผน
• การตั้งผู้บริหารชั่วคราว
• การเบิกค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผน
บทที่ ๙ การขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
• ความแตกต่างระหว่างการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
• หนี้ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
• การขยายเวลา
• การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้
• การออกเสียงลงคะแนน
• กฎหมายส่วนอื่นที่นำมาใช้กับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
• มูลแห่งหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในสิทธิไล่เบี้ย
• การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้มีประกัน
• การขอรับชำระหนี้ในสิทธิไล่เบี้ย
• สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้
• การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้
• ผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
• การหักกลบลบหนี้
บทที่ ๑๐ กระบวนการอันสืบเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
• คำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
• การทวงหนี้
• การเพิกถอนการฉ้อฉล
• การเพิกถอนการโอน
• กรณีปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญา
• การตั้งกรรมการเจ้าหนี้
บทที่ ๑๑ แผนฟื้นฟูกิจการและการพิจารณาแผน
• รายการในแผนฟื้นฟูกิจการ
• การจัดกลุ่มเจ้าหนี้
• การลงคะแนนเสียงของเจ้าหนี้
• การขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้
• การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน
• มติที่ยอมรับแผนของที่ประชุมเจ้าหนี้
• การขอแก้ไขแผน
• การรายงานผลการประชุม
• การพิจารณาของศาล
• ผลของคำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผน
• ผลกระทบของคำสั่งที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้บริหารแผนและบุคคลอื่น
บทที่ ๑๒ การสิ้นสุดของคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
บทที่ ๑๓ การแก้ไขแผนและการตั้งผู้บริหารคนใหม่ภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
• วิธีการขอแก้ไขแผน
• ผลจากการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยขอเสนอขอแก้ไขแผน
• การพ้นจากตำแหน่งของผู้บริหารแผน
• การเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ และการตั้งผู้บริหารแผนชั่วคราว
• ผลของคำสั่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่
บทที่ ๑๔ การอุทธรณ์คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
• หลักการอุทธรณ์คดีฟื้นฟูกิจการ
• ผู้มีสิทธิอุทธรณ์
• คดีที่ศาลฎีกาอนุญาตให้อุทธรณ์
ภาคผนวก
• พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ หมวด ๓/๑
• พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. ๒๕๔๒
• พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
• พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
• ข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. ๒๕๔๙
• กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๕
• ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตลูกหนี้ต่อศาลฎีกาในคดีล้มละลาย พ.ศ. ๒๕๔๗
• ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยข้ออุทธรณ์ในคดีล้มละลายที่ไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา พ.ศ. ๒๕๔๗
• ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในคดีล้มละลายส่วนที่เกี่ยวกับคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๙